วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

อาชีพวิศวกร (Engineering Services)



วิศวกร ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรเครื่องกล วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้าวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ
กฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้ วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า "ใบกว." เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขา โยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ1ภาคีวิศวกร2.สามัญวิศวกร 3.วุฒิวิศวกร โดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และ ขนาด ของงานด้วย เช่น ขอบเขตของงานให้คำปรึกษาของสาขาวิศวกรรมโยธา ข้อหนึ่งคือ "อาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างห่างจากทางสาธารณะไม่เกินสิบสี่เมตร" หรือ งานออกแบบและคำนวณ ของสาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม กำหนดขอบเขต คือ "งานอุตสาหกรรมของโรงงานที่ใช้ลูกจ้าง ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปหรือของโรงงานขนาดที่ต้องลงทุนตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป" - หากสาขา แขนง ลักษณะ และ ขนาดของงาน ไม่เข้าข่ายที่กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตร "วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต" ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพของ "บัณฑิตวิศวกรรม"


คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพวิศวกรฯ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
2.เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีที่ประหยัด และ มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
3.มีวิสัยทัศน์ และสนใจกับเหตุการณ์ ข่าวสารที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีจรรยาบรรณของวิศวกร
4.มีความอดทนและเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดสุขุม
5.มีลักษณะเป็นผู้นำ ทั้งนี้งานส่วนใหญ่ในงานวิศวกรรมจะเกี่ยวกับการควบคุมคนเป็นจำนวนมาก
6.มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี
7. ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรบางสาขาเช่นวิศวกรรมโยธาจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใ ช้ในการรับรองสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติและวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่ สภาวิศวกร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น